วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บำเหน็จบำนาญ


บำเหน็จบำนาญ
v “บำเหน็จ” หมายความว่า เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมาซึ่งจ่ายครั้งเดียว
v “บำนาญ” หมายความว่า เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือน

สิทธิในบำเหน็จบำนาญปกติ
          สิทธิในบำเหน็จหรือบำนาญเป็นสิทธิเฉพาะตัว จะโอนไม่ได้
          ข้าราชการมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญปกติด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1.       เหตุทดแทน บำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนนั้น ให้แก่ข้าราชการซึ่งออกจากประจำการเพราะเลิกหรือ
ยุบตำแหน่ง หรือมีคำสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิด ฯ
2.       บำเหน็จบำนาญเหตุทุพพลภาพ คือให้แก่ข้าราชการผู้ป่วย เจ็บทุพพลภาพ ซึ่งแพทย์ที่ทางราชการ
รับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่า ไม่สามารถที่รับราชการในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไป
3.       บำเหน็จบำนาญแหตุสูงอายุนั้น ให้แก่ข้าราชการผู้มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ แล้วถ้าข้าราชการผู้ใด
มีอายุครบห้าสิบปีบริบูรณ์แล้ว ประสงค์จะลาออกจากราชการก็ให้ผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ลาออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุสูงอายุได้
4.       บำเหน็จบำนาญเหตุรับราชการนานนั้น ให้แก่ข้าราชการซึ่งมีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จ
บำนาญครบสามสิบปีบริบูรณ์แล้ว
ถ้าข้าราชการผู้ใดมีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครบยี่สิบห้าปีบริบูรณ์แล้วประสงค์
จะลาออกจากราชการก็ให้ผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ลาออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุรับราชการนานได้
5.       ข้าราชการผู้ซึ่งมีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญไม่ถึงสิบปีบริบูรณ์มีสิทธิได้บำเหน็จ
6.       ข้าราชการผู้ซึ่งมีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตั้งแต่สิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปมีสิทธิได้รับบำนาญ

เวลาราชการและการนับเวลาราชการ
คำนวณบำเหน็จบำนาญ
1.       ข้าราชการซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว เป็นอันพ้นจากเวลาราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมี
อายุครบหกสิบปีบริบูรณ์
2.       การนับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญนั้น ให้นับแต่วันรับราชการให้นับแต่วันรับ
ราชการ รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือน ซึ่งมิใช่อัตราข้าราชการวิสามัญหรือลูกจ้าง
               ข้าราชการซึ่งทำงานหรือรับราชการก่อนเกษียณอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์ ให้เริ่มนับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตั้งแต่วันทีมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์เป็นต้นไป
3.       เวลาป่วยหรือลา หรือต้องพักราชการ ซึ่งได้รับอนุญาตให้รับเงินเดือนเต็มนั้น สำหรับการคำนวณ
บำเหน็จบำนาญให้นับเหมือนเต็มเวลาราชการ
เวลาป่วยหรือลาหรือต้องพักราชการ หรือมิได้อยู่รับราชการ ซึ่งมิได้รับอนุญาตให้รับเงินเดือน
ไม่นับเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ
4.       ข้าราชการซึ่งทางราชการคัดเลือกหรือสอบคัดเลือกให้ไปดูงาน หรือศึกษาวิชาในต่างประเทศ ให้นับ
เวลาสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญในระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ
5.       เวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญให้นับแต่จำนวนปี เศษของปีถ้าถึงครึ่งปีให้นับเป็นหนึ่งปี
การนับเวลาตามวรรคก่อน สำหรับเดือนหรือวัน ให้คำนวณตามวิธีการจ่ายเงินเดือนและให้นับสิบสองเดือนเป็นหนึ่งปี สำหรับจำนวนวัน ถ้ามีการรวมกันหลายระยะ ให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน
วิธีคำนวณบำเหน็จบำนาญ
1.       ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญ ให้ตั้งเงินเดือนเดือนสุดท้ายเป็นเกณฑ์คำนวณ แต่ถ้าเป็นการคำนวณ
บำเหน็จบำนาญของข้าราชการ ซึ่งพ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุตาม มาตรา 19 เงินเดือนสุดท้ายให้หมายความรวมถึงเงินเดือนที่ได้เลื่อนในวันสุดท้ายของปีงบประมาณนั้นด้วย
2.       วิธีคำนวณบำเหน็จบำนาญ ให้กระทำดังนี้
1.1   สำหรับบำเหน็จ ให้ตั้งเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีเวลาราชการ
1.2   สำหรับบำนาญ ให้ตั้งเงินเดือนเดือนสุดท้ายหารด้วยห้าสิบคูณด้วยจำนวนปีเวลาราชการ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น