วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความผิดฐานหมิ่นประมาท(ตามประมวลกฎหมายอาญา)


ความผิดฐานหมิ่นประมาท(ตามประมวลกฎหมายอาญา)
          ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา นั้น จะต้องได้ความว่าการใส่ความดังกล่าวได้ระบุถึงตัวบุคคลผู้ถูกใส่ความเป็นการยืนยันแน่นอน  หรือหากไม่ระบุถึงผู้ที่ถูกใส่ความโดยตรง การใส่ความนั้นก็ต้องได้ความว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ส่วนการใส่ความที่เป็นถ้อยคำหรือข้อความอันจะทำให้ผู้ที่ถูกใส่ความต้องเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังก็มิใช่จะพิจารณา หรือวัดจากความรู้สึกของผู้ถูกใส่ความเป็นสำคัญ เพราะอารมณ์ของบุคคลแตกต่างกันต้องพิจารณาจากการรับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึก และความเข้าใจในถ้อยคำหรือข้อความของวิญญูชนทั่วๆไป
          หมิ่นประมาท นอกจากจะมีความผิดทางอาญาแล้ว ผู้กระทำผิดยังต้องรับผิดในทางแพ่ง ซึ่งต้องชดใช้ค่าสินไหม  ทดแทนแก่ผู้เสียหาย
          โทษของความผิดฐานหมิ่นประมาท ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ...ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
          ตัวอย่างความผิดฐานหมิ่นประมาท
           นาย ก พูดกับนาย ข ว่า “เธอรู้หรือเปล่านางสาว ค เป็นชู้กับ นาย ง”  นาย ก มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
นางสาว ค และ นาย ง  นางสาว ค และนาย ง ถือเป็นผู้ได้รับความเสียหาย

ความผิดฐาน “ดูหมิ่นซึ่งหน้า”
          ดูหมิ่นซึ่งหน้า เป็นการดูหมิ่นผู้ที่ถูกดูหมิ่น และกระทำต่อหน้า ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีบุคคลที่สามอยู่ด้วย หากมีการ     ดูหมิ่นซึ่งหน้าแล้วถือเป็นความผิดสำเร็จทันที   ดูหมิ่นซึ่งหน้า คือคำด่าที่เป็นคำหยาบ ที่เป็นการเหยียดหยาม  เช่น ไอเหี้ย   ไอสัตว์  เป็นต้น   การดูหมิ่นซึ่งหน้ามีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          ตัวอย่าง  นาย ก เห็นนาย ข เดินผ่านมา ก็พูดใส่ขึ้นว่า “ไอเหี้ย” ซึ่งในเวลาดังกล่าวไม่มีใครเดินผ่านมาเลย และนาย ก ก็ยังมีเรื่องบาดหมางอยู่กับ นาย ข ด้วย นาย ก มีความผิด ฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น