วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การร้องทุกข์ในเรื่องที่ได้รับความเดือดร้อนจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์


ราษฎรท่านใดได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้อำนาจหรือตำแหน่งหน้าที่ของตน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราษฎร  อาทิเช่น
§    เจ้าหน้าที่ที่ดินเพิกเฉยไม่ไปรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินให้ 
§    เจ้าหน้าที่กลั่นแกล้งไม่ยอมออกใบอนุญาตมีและใช้อาวุธปืนให้โดยไม่มีเหตุอันสมควร 
§    เจ้าหน้าที่ออกคำสั่งเพิกถอน นส.3ที่ชาวบ้านได้มาโดยชอบโดยไม่ปรากฏเหตุผลตามกฎหมาย
           โดยที่จะมุ่งแก้ไขปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ที่ไม่ชอบ หรือการไม่ปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงได้กำหนดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ หรือที่เรียกว่า ครท.  โดยมีหน้าที่หลักในการวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ที่ราษฎรได้รับความเดือดร้อนจากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

การร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์มีข้อดีอย่างไร
1.        การร้องทุกข์ต่อ ครท ไม่จำต้องมีทนายความ ราษฎรผู้ได้รับความเดือดร้อนสามารถไปร้องทุกข์ต่อ ครท.
ได้โดยตรงด้วยตนเอง โดยจะต้องจัดทำคำร้องทุกข์ให้เป็นรายลักษณ์อักษร แต่หากราษฎรประสงค์จะแต่งทนายความเข้ามาเป็นตัวแทน กฎหมายก็รับรองให้ทำได้
2.        ระบบการพิจารณาของ ครท.ก็จะดำเนินการไปอย่างรวดเร็ว การวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ต่างๆจะใช้เวลาไม่นาน
มากนักเมื่อเทียบกับกระบวนการพิจารณาในศาล
3.       ใครบ้างที่จะร้องทุกข์ได้และจะร้องทุกข์ได้ในเรื่องใดบ้าง  พระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกากำหนดว่า
บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิจะร้องทุกข์ต่อ ครท. ได้แต่จะต้องปรากฏด้วยว่า บุคคลที่จะร้องทุกข์นั้นเป็นผู้ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อน หรืออาจจะเสียหายหรือเดือดร้อนโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และต้องปรากฏว่าความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้น เกิดจากเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
-          ละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือ
-          ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร หรือ
กระทำการนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือขัด หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

กำหนดอายุความร้องทุกข์
ราษฎรคนใดจะมาร้องทุกข์เรื่องการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ต่อ ครท. จะต้องดำเนินการภายใน 90 วันนับแต่วันที่ตนรู้ หรือควรได้รู้เหตุแห่งการร้องทุกข์นั้นๆ  เช่นเจ้าหน้าที่ที่ดินเพิกถอน นส.3 ของผู้ร้อง(ราษฏร)ก็ต้องนับแต่วันที่เจ้าหน้าที่แจ้งคำสั่งเพิกถอนดังกล่าวไปให้ทราบ


การร้องทุกข์ต้องทำอย่างไร
          เมื่อราษฎรได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย อันเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และประสงค์จะร้องทุกข์ต่อ ครท. ต้องทำคำร้องทุกข์เป็นหนังสือโดย
1.        มีชื่อและที่อยู่ของผู้ร้องทุกข์
2.       ระบุเรื่องอันเป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์พร้อมทั้งข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ตามสมควรเกี่ยวกับเรื่องที่ร้องทุกข์
3.       ใช้ถ้อยคำสุภาพ
4.       ลงลายมือชื่อผู้ร้องทุกข์ ถ้าเป็นการยื่นร้องทุกข์แทนผู้อื่นจะต้องแนบใบมอบฉันทะให้ร้องทุกข์มาด้วย
ในการยื่นร้องทุกข์ อาจจะมาร้องทุกข์ ณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ถนนพระอาทิตย์ กรุงเทพมหานคร
10200 หรือจะยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ส่งเรื่องร้องทุกข์ไปยัง ครท. ต่อไป
          นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดให้มีการร้องทุกข์ทางไปรษณีย์ได้โดยให้จัดคำร้องทุกข์ตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนลงทะเบียนไปยังหน่วยงานธุรการ ของ ครท.คือ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ถนนพระอาทิตย์กรุงเทพมหานคร 10200
          อนึ่ง แม้ได้มีการร้องทุกข์ตามขั้นตอนจนมีคำวินิจฉัยร้องทุกข์ออกมาแล้ว หากคำวินิจฉัยไม่เป็นไปตามความต้องการของผู้ร้อง คือไม่มีการปัดเป่าความเดือดร้อน และผู้ร้องไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของ ครท. ก็ยังมีสิทธินำเรื่องขึ้นฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลยุติธรรมในคดีแพ่งหรือคดีอาญาได้โดยไม่ต้องห้าม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น