วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

Test บล็อกแรกในชีวิต เรื่อง การประกันตัว


การขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาล
v การประกันตัวคือ  การขอให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาชั่วคราวระหว่างการสอบสวนหรือขอให้ปล่อยตัว
จำเลยชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล การอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเป็นดุลพินิจขอผู้พิพากษา
v ผู้มีสิทธิยื่นขอประกันตัว
1.       ผู้ต้องหาหรือจำเลย
2.       ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับผู้ต้องหาหรือจำเลย  เช่น บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีภริยา ญาติพี่น้อง
ผู้บังคับบัญชา นายจ้าง บุคคลที่เกี่ยวพันโดยทางสมรส บุคคลที่ศาลเห็นว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเสมือนเป็นญาติ
พี่น้อง หรือมีความสัมพันธ์ในทางอื่นที่ศาลเห็นสมควรหรือนิติบุคคล เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด สำหรับกรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นกรรมการ ผู้แทน ตัวแทน หุ้นส่วน พนักงาน หรือ ลูกจ้างของนิติบุคคลนั้นเป็นต้น
v หลักฐานที่ต้องใช้ในการประกันตัวผู้ต้องหา หรือ จำเลย
1.       บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบัตรประจำตัวพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ของผู้ร้องขอประกัน อย่างใดอย่างหนึ่งและบัตรประจำตัวของผู้ต้องหาหรือจำเลย พร้อมสำเนาอย่างละ 1 ฉบับ
2.       ทะเบียนบ้านของผู้ร้องขอประกันตัว และของจำเลย สำเนาอย่างละ 1 ฉบับ
3.       ในกรณีผู้ร้องขอประกันมีคู่สมรสจะต้องแสดงเอกสารเพิ่มเติม ได้แก่
3.1               บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบัตรประจำตัวพนักงาน
รัฐวิสาหกิจ อย่างใดอย่างหนึ่ง และทะเบียนบ้านของคู่สมรส
3.2               ใบสำคัญการสมรส
3.3               หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรสถ้าคู่สมรสเสียชีวิต หรือ หย่า จะต้องมีใบมรณะบัตร
หรือใบหย่ามาแสดงด้วยพร้อมสำเนา 1 ฉบับ
          กรณีชื่อเจ้าของหลักทรัพย์ไม่ตรงกับที่ปรากฏในเอกสารแสดงสิทธิ์ในหลักทรัพย์ ต้องมีหนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน หรือหลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือชื่อสกุล
          ภาพถ่านหรือแผนที่หลักทรัพย์
          กรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นชาวต่างประเทศหากมีหนังสือเดินทาง(passport() ต้องนำมาแสดงด้วย
ข้อสังเกต  ในวันยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว หากเอกสารที่ต้องนำมานั้นไม่ครบถ้วน ผู้ร้องขอประกันอาจขอผัดผ่อนนำมาส่งศาลในภายหลังซึ่งศาลมีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้ผัดผ่อนได้ตามที่เห็นสมควร
v หลักทรัพย์ที่ใช้เป็นประกัน
1.       เงินสด
2.       หลักทรัพย์อื่น เช่น
2.1   ที่ดินมีโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 , น.ส.3ก ) กรรมสิทธิ์ห้องชุด
2.2   พันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน บัตรหรือสลากออมทรัพย์ทวีสินของธนาคารเพื่อการเกษตรและ
สหกรณ์การเกษตร ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่าย และ ธนาคารผู้จ่ายได้รับรองตลอดไปแล้วตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว หรือเช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย (แคชเชียร์เช็ค)หรือเช็คที่ธนาคารรับรองแล้ว
2.3   เงินฝากธนาคาร
2.4   หนังสือค้ำประกันหรือหนังสือรับรองของธนาคาร
2.5   หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย
v บุคคลเป็นประกันหรือหลักประกัน
1.       ส่วนราชการ กรณีข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการที่ต้องหาคดีอาญาตามระเบียบ
กระทรวงการคลัง ว่าด้วยการช่วยเหลือข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการที่ต้องหาคดีอาญา
2.       ผู้มีตำแหน่งข้าราชการ ข้าราชการบำนาญ สมาชิกรัฐสภา  ผู้บริหารราชการส่วนท้องถิ่น 
สมาชิกสภาท้องถิ่น พนักงานองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานของรัฐประเภทอื่นๆ  ลูกจ้างของทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารพรรคการเมือง และทนายความ ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้มีความสัมพันธ์กับผู้ต้องหาหรือจำเลย เช่น เป็นบุพการี  ผู้สืบสันดาน สามี ภริยา ญาติพี่น้อง ผู้บังคับบัญชา นายจ้าง บุคคลที่เกี่ยวพันโดยทางสมรสหรือบุคคลที่ศาลเห็นว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเสมือนเป็นญาติพี่น้องหรือมีความสัมพันธ์ในทางอื่นที่ศาลเห็นสมควร โดยสามารถทำสัญญาประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 10 เท่าของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
3.       ผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์ เภสัชกร พยาบาล วิศวกร สถาปนิก ทนายความ ผู้สอบบัญชี
ครู ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน หรือผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามที่ศาลเห็นสมควร เมื่อตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย อาจใช้ตนเองเป็นหลักประกันได้ในกรณีความผิดที่ตนถูกกล่าวหาเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่หรือการปฏิบัติงานในการประกอบวิชาชีพ โดยสามารถทำสัญญาประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 15 เท่าของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
หมายเหตุ
1.       ในกรณีวางสมุดฝากเงินประจำของธนาคารจะต้องนำหนังสือรับรองยอดเงินคงเหลือปัจจุบัน
ของธนาคารมาแสดงด้วย
2.       กรณีใช้ที่ดินมีโฉนด น.ส.3 หรือ น.ส.3ก หรือกรรมสิทธิ์ห้องชุดมาเป็นหลักทรัพย์ ต้องมี
หนังสือรับรองประเมินราคาที่ดินจากสำนักงานที่ดินจังหวัดหรือจากที่ว่าการอำเภอหรือเขตในที่ที่ดินตั้งอยู่ แล้วแต่กรณีซึ่งออกให้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน รับรองโดยเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด หรือ ผู้ปฏิบัติราชการแทน หรือ ผู้ทำการแทน กรณีรับรองโดยสำนักงานที่ดินอำเภอ ผู้รับรองราคาประเมินจะต้องเป็นนายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขตหรือปลัดอำเภอผู้ทำการแทนหรือเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอ
3.       ในกรณีที่ผู้เป็นเจ้าของหลักทรัพย์ ต้องการมอบอำนาจให้ผู้อื่น (ญาติ) นำหลักฐาน
มาประกันตน ใบมอบอำนาจจะต้องทำ ณ ที่ว่าการอำเภอซึ่งทรัพย์นั้นตั้งอยู่ โดยมีนายอำเภอหรือพนักงานฝ่ายปกครองลงลายมือชื่อผู้รับรองและประทับตราเป็นสำคัญด้วย
v ขั้นตอนในการยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว
1.       ผู้ที่จะขอประกันให้แสดงความจำนงในการขอประกันตัวจำเลยต่อเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของศาล
และพร้อมกับยื่นหลักทรัพย์พร้อมหลักฐานที่จำเป็นในการขอประกันตัว
2.       เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ตรวจความเรียบร้อยและครบถ้วนของเอกสารทั้งหมดและเสนอคำร้อง
ต่อศาลเพื่อพิจารณาสั่ง
3.       เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวแล้วผู้ประกันสามารถรับตัวจำเลยไปจากศาลได้ทันที
แต่ต้องนำตัวจำเลยมาส่งศาลตามที่ศาลนัดทุกครั้ง โดยเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์จะให้ใบนัดพร้อมระบุวันที่ที่จะต้องมาศาล มอบให้กับผู้ประกันและจำเลยไป ในกรณีที่จำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำจังหวัดสุพรรณบุรี ทางศาลจะออกหมายปล่อยให้ผู้ประกันหรือเจ้าหน้าที่เรือนจำฯ ผู้ประกันจะต้องไปรับตัวจำเลยที่เรือนจำฯ หากศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว (ไม่อนุญาตให้ประกันตัว) ผู้ขอประกันมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลไดะชาสัมพันธ์จะให้ใบนัดพร้อมระบุวันที่ที่จะต้องมาศาล มอบให้กับผู้ประกันและจำเลยไป ในกรณีที่จำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำจังหวัดสุพรรณบุรี ทางศาลจะออกหมายปล่อยให้ผู้ประกันหรือเจ้าหน้าที่เรือนจำฯ ผู้ประกันจะต้องไปรับตัวจำเลยที่เรือนจำฯ หากศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว (ไม่อนุญาตให้ประกันตัว) ผู้ขอประกันมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลได้ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง คำสั่งศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด แต่ไม่ตัดสิทธิ์ผู้ขอประกันที่จะยื่นคำร้องใหม่
v หลักเกณฑ์ในการสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราว
          เมื่อยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวแล้ว ศาลจะพิจารณาเรื่องเหล่านี้ประกอบในการพิจารณาสั่งคำร้อง คือ
1.       ความหนักเบาแห่งข้อหา
2.       พยานหลักฐานที่นำสืบแล้วมีเพียงใด
3.       พฤติการณ์ต่างๆแห่งคดี
4.       ความน่าเชื่อถือของผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกัน
5.       ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่
6.       คำคัดค้านของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ
การมอบฉันทะให้ส่งตัวจำเลย
ในกรณีที่ศาลอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวหรือประกันตัว ผู้ประกันมีหน้าที่ต้องส่งตัวจำเลยต่อศาลตามกำหนดนัดของศาลทุกครั้ง แต่หากผู้ประกันไม่สามารถมาศาลได้ด้วยตนเอง ผู้ประกันต้องมอบฉันทะให้บุคคลอื่นส่งตัวจำเลยต่อศาลแทน (โดยขอแบบใบมอบฉันทะได้ที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ พร้อมติดอากรแสตมป์ 30 บาท )

v กรณีศาลสั่งปรับนายประกัน
          ศาลจะสั่งปรับผู้ประกันในกรณีที่ผิดสัญญาประกันต่อศาล เช่น ไม่นำตัวจำเลยมาส่งศาลตามกำหนดนัดเป็นต้น ผู้ประกันจะต้องนำเงินค่าปรับมาชำระต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด มิฉะนั้นศาลจะสั่งยึดหลักประกันขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระค่าปรับ ถ้าได้เงินไม่พอชำระค่าปรับศาลอาจยึดทรัพย์สินอื่นๆ ของ  ผู้ประกันมาขายทอดตลาดเพื่อชำระค่าปรับจนครบ ผู้ประกันที่ศาลสั่งปรับตามสัญญาประกันมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง หรืออาจนำตัวจำเลยมาส่งศาลและขอลดค่าปรับต่อศาล   ได้โดยแสดงเหตุที่ไม่สามารถส่งตัวจำเลยตามกำหนดที่ศาลนัดได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น